สวัสดีคร้าบบ...กลับมาพบกับน้องโฟกัสอีกครั้ง พร้อมกับข้อมูลดีๆ สำหรับนักเดินทาง เมื่อมีแพลนเดินทางจะไปต่างประเทศ การทำหนังสือเดินทาง
หรือพาสปอร์ต จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นสิ่งยืนยันตัวตนของเราเมื่อเดินทางออกนอกประเทศนั่นเอง
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีแพลนจะพาลูกไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าเด็กจะอายุน้อยแค่ไหน
ก็ต้องทำพาสปอร์ตไม่มีข้อยกเว้น หรือหากต้องการขอวีซ่าเข้าประเทศก็ต้องใช้เลขที่พาสปอร์ตเช่นกัน
หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าต้องใช้เตรียมเอกสารอะไรบ้างสำหรับการทำพาสปอร์ตของเด็ก วันนี้ผมมีข้อแนะนำ ทำหนังสือเดินทางของเด็กอายุต่ำกว่า
20 ปีบริบูรณ์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง มาฝากกันคร้าบบบ
กรณีที่ 1 บิดา มารดาอยู่ด้วยกัน (อาจจะจดหรือไม่จดทะเบียนสมรส แต่อำนาจ
ปกครองบุตรร่วมกัน
-
สูติบัตรตัวจริง
-
บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับเด็กที่อายุ
7 ปีขึ้นไป)
-
หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
-
บัตรประชาชนตัวจริง ของบิดาและมารดา (กรณีชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
-
เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอำนาจปกครองบุตร
หมายเหตุ
-
ทั้งบิดาและมารดาต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง
-
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถแสดงตน
จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือเดินทาง (ทำผ่านเขตหรืออำเภอ)
-
หากทั้งบิดาและมารดา
ไม่สามารถไปแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมจากทั้งบิดาและมารดา (อาจทำในฉบับเดียวกัน)
และมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า
ตายาย ลุงป้า น้าอา พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ
15 ปีขึ้นไป)
กรณีที่ 2 บิดา มารดา หย่าร้าง
-
สูติบัตรตัวจริง
-
บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับเด็กที่อายุ
7 ปีขึ้นไป)
-
หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
-
บัตรประชาชนตัวจริง ของบิดาหรือมารดา
ผู้มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (กรณีชาวต่างชาติ
ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
-
เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอำนาจปกครองบุตร
-
ทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่า ที่ระบุว่าผู้ใดมีอำนาจปกครองบุตร
ให้ผู้นั้นพาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง และกรณีที่มีอำนาจในการปกครองบุตรร่วมกัน
ทั้งบิดาและมารดาจะต้องลงนามยินยอม
หมายเหตุ
-
ผู้ที่มีอำนาจปกครองบุตรเพียงฝ่ายเดียวต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง
-
หากผู้มีอำนาจปกครองบุตรเพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแสดงตน
จะต้องมีหนังสือยินยอมจากทั้งบิดาและมารดา (อาจทำในฉบับเดียวกัน) และมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลที่
3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง
(ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
-
หากบิดาและมารดายังมีอำนาจในการปกครองบุตรร่วมกันหลังการหย่า
ทั้งบิดามารดาจะต้องมาแสดงตน
กรณีที่ 3 บิดา มารดา จดทะเบียนสมรสแต่แยกกันอยู่
(ติดต่ออีกฝ่ายไม่ได้)
-
สูติบัตรตัวจริง
-
บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับเด็กที่อายุ
7 ปีขึ้นไป)
-
หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
-
บัตรประชาชนตัวจริง ของบิดาหรือมารดา
ผู้มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (กรณีชาวต่างชาติ
ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
-
เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอำนาจปกครองบุตร
-
หากไม่สามารถติดต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ จะต้องมีคำสั่งศาลให้อีกฝ่ายมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หมายเหตุ
-
ผู้ที่มีอำนาจปกครองบุตรเพียงฝ่ายเดียวต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง
-
หากผู้มีอำนาจปกครองบุตรเพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแสดงตน
จะต้องมีหนังสือยินยอมจากทั้งบิดาและมารดา (อาจทำในฉบับเดียวกัน) และมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลที่
3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง
(ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
-
หากบิดาและมารดายังมีอำนาจในการปกครองบุตรร่วมกันหลังการหย่า
ทั้งบิดามารดาจะต้องมาแสดงตน
กรณีที่ 4 บิดาหรือมารดา เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร
ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและแยกกันอยู่ (ติดต่ออีกฝ่ายไม่ได้)
-
สูติบัตรตัวจริง
-
บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับเด็กที่อายุ
7 ปีขึ้นไป)
-
หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
-
บัตรประชาชนตัวจริง ของบิดาหรือมารดา (กรณีชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
-
คำสั่งศาลให้บิดาหรือมารดามีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
-
หนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14)
จากสำนักงานเขต หรืออำเภอ โดยกรณีที่ไม่มี ปค.14 สามารถใช้เอกสารที่ออกโดยสำนักงานเขต
หรืออำเภอ ได้แก่ หลักฐานยืนยันว่ามารดาไม่เคยจดทะเบียนสมรส
และเอกสารทางทะเบียนว่าบิดาไม่เคยจดทะเบียนนรับรองบุตร (สำหรับมารดา)
หมายเหตุ
-
บิดาหรือมารดาต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง
-
หากบิดาหรือมารดาไม่สามารถแสดงตน
จะต้องมีหนังสือยินยอมจากทั้งบิดาและมารดา (อาจทำในฉบับเดียวกัน) และมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลที่
3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง
(ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
กรณีที่ 5 บุคคลที่ 3 เป็นผู้ปกครอง
(ติดต่อบิดาและมารดาไม่ได้)
-
สูติบัตรตัวจริง
-
บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับเด็กที่อายุ
7 ปีขึ้นไป)
-
หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
-
บัตรประชาชนตัวจริง ของผู้ปกครอง
-
คำสั่งศาลให้ผู้ปกครองมีอำนาจปกครองเด็กแทนบิดามารดา
หมายเหตุ
-
กรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองตามกฎหมาย
เช่น เด็กกำพร้าซึ่งอยู่ในความดูแลของหน่วยงาน / องค์กร แต่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อแข่งขันกีฬา
หรือแข่งขันด้านวิชาการ หน่วยงานที่ต้องดูแลเด็กต้องทำหนังสือถึงผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทาง
เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี
-
หากมีผู้ปกครองตามกฎหมายและไม่สามารถมาแสดงตน
จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือเดินทาง
(ทำผ่านเขตหรืออำเภอ)
กรณีที่ 6 จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
-
สูติบัตรตัวจริง
-
บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับเด็กที่อายุ
7 ปีขึ้นไป)
-
หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
-
บัตรประชาชนตัวจริง ของบิดาและมารดา
-
ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (หากมี)
-
ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม (คร.14) (ฉบับจริง)
หมายเหตุ
-
หากบิดาหรือมารดาไม่สามารถแสดงตน
จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือเดินทาง (ทำผ่านเขตหรืออำเภอ)
เป็นยังไงกันบ้างคร้าบบบ... ทำหนังสือเดินทางของเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง ... หวังว่าจะเป็นแนวทางในการตระเตรียมเอกสาร เตรียมตัวให้พร้อม
เพื่อพาเด็กๆ ตะลุยเที่ยวต่างประเทศ ได้นะครับบ...
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ